โอกาสทองของไทย
ในอุตสาหกรรมการจัดการน้ำและน้ำเสีย
|
การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้เป็นภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) คาดว่าจะทำให้การจัดการน้ำอย่างยั่งยืนยากขึ้นอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ประเทศไทยได้กำหนดให้ความสำคัญอย่างมากกับความมั่นคงด้านน้ำ และได้เน้น 6 ประเด็นสำคัญด้านน้ำ ได้แก่ น้ำเพื่ออุปโภค บริโภค น้ำเพื่อการผลิต การจัดการน้ำท่วม คุณภาพน้ำ การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม และการบริหารจัดการน้ำ
|
รัฐบาลไทยได้ดำเนินการปฏิรูปนโยบายครั้งใหญ่ผ่าน 4 แผนการ ได้แก่
|
-
จัดตั้งแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
-
การจัดตั้ง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
-
กำหนดพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
-
พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
|
และมีการประกาศแผนบริหารจัดการน้ำ มากกว่า 11,000 โครงการ จาก 23 หน่วยงานภาครัฐ
ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียนในด้านอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาเมือง แผนบริหารการจัดการน้ำใน EEC มีการกำหนดเป้าหมายระยะสั้นเพื่อป้องกันภัยแล้ง มุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณน้ำผ่านอ่างเก็บน้ำและการผันน้ำ ส่วนเป้าหมายระยะยาวเน้นการจัดหาอ่างเก็บน้ำและระบบผันน้ำด้วยเงินลงทุนกว่า 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้มั่นใจว่า “การจัดการน้ำจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน” หนึ่งในเป้าหมายคือการจัดการความต้องการใช้น้ำ ตั้งเป้าลดการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมลง 10% โดยยึดแนวทาง 3R คือ นำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ ลดการสูญเสียน้ำ และนำทรัพยากรน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ ร่วมกับการใช้อุปกรณ์อัจฉริยะ (IOT) และเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพของน้ำ จะช่วยลดการต้องการน้ำจืดและปริมาณน้ำเสีย ทำให้ต้นทุนการจัดหาน้ำจืดและการบำบัดน้ำทิ้งลดลง
|