ธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยต้องปรับตัวอย่างไร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือมาตรการ CBAM
|
เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 ทางยุโรปได้มีการออกมาตรการภายใต้นโยบายแผนปฏิรูปสีเขียว (European Green deal) นั่นก็คือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน เพื่อบรรลุเป้าหมายของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
CBAM จะบังคับใช้ช่วงแรกตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566 – 31 ธ.ค. 2568 (ช่วงเปลี่ยนผ่าน) ผู้นำเข้าต้องรายงานข้อมูลปริมาณสินค้านำเข้า และการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต ทั้งนี้ ผู้นำเข้าต้องยื่นขอสถานะเป็น CBAM Declarant และผู้ประกอบการไทย (ผู้ส่งออก) ต้องขึ้นทะเบียนในระบบ CBAM Registry ภายใน 31 ธันวาคม 2567 และเริ่มบังคับให้ผู้นำเข้าต้องซื้อใบรับรอง CBAM ตามปริมาณจริงของการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป
โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับสินค้านำเข้า ครอบคลุมสินค้า 6 กลุ่ม ได้แก่ เหล็ก อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า และ ไฮโดรเจน (รวมถึงน็อต สกรูที่ทำจากเหล็ก และสายเคเบิลที่ทำจากอะลูมิเนียม) ทำให้ผู้ผลิตและส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรปต้องทำการตรวจวัด และจัดทำรายงานข้อมูลปริมาณการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต (Carbon Footprint) และเป็นแรงกดดันทางอ้อมให้ประเทศคู่ค้าต้องวางแผนและพัฒนากระบวนการผลิตที่คาร์บอนต่ำ เช่น ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรในกระบวนการผลิต รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อเตรียมตัวรับมือกับมาตรการดังกล่าว
|