การจัดการซ่อมบำรุงเครื่องจักรให้สามารถเดินเครื่องเต็มประสิทธิภาพอยู่เสมอ ต้องอาศัยระบบการบริหารจัดการการที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ตั้งแต่การวางแผน นโยบาย ไปจนถึงการประสานงานกับฝ่ายผลิตในเรื่องการจัดตารางงานบำรุงรักษาเพื่อไม่ให้กระทบต่อกระบวนการผลิต และไม่ให้เกิดปัญหาความสูญเสียที่เกิดขึ้นตามสายงานการผลิต
|
1. Condition-Based Maintenance – ระบบการบำรุงรักษาตามการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนอะไหล่ เมื่อตรวจพบความเสื่อมสภาพและอาการผิดปกติของเครื่องจักร อาศัยเครื่องมือวัดค่าความสั่นสะเทือน ปริมาณกระแสไฟฟ้า และอุณหภูมิ นำมาบันทึกและแสดงผล เพื่อวิเคราะห์ค่าว่าส่วนใดเสื่อมสภาพ สามารถดำเนินการแก้ไขได้ตรงจุด ลดค่าใช้จ่ายต้นทุนด้านอะไหล่ให้โรงงาน เพราะสามารถใช้เครื่องจักรจนถึงจุดซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนอะไหล่ในระยะเวลาที่คุ้มค่าที่สุด
|
2. Total Productive Maintenance (TPM) จะมีเป้าหมายที่สำคัญ ให้การเกิดเครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์ (Zero Breakdown) วางแผนสายการผลิตด้วยการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรก่อนที่จะเกิดความเสียหาย ซึ่งจำเป็นต้องประสานงานกับฝ่ายผลิตทำการเก็บข้อมูลเพื่อคาดการณ์ช่วงเวลาที่เหมาะสม ร่วมกับ การบำรุงรักษาขั้นพื้นฐานตามระยะเวลา เพื่อให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอในขณะยังสามารถใช้งานชิ้นส่วนและอุปกรณ์ได้ครบตามอายุการใช้งานจริง
|
ทั้ง 2 วิธีจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีการตรวจสอบ เก็บข้อมูลและวิเคราะห์เพื่อให้ได้การบำรุงรักษาเครื่องจักรที่มีความเหมาะสมและตรงกับรูปแบบแนวความคิดในแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมมากที่สุด
|